บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับคนไทยเท่านั้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน เพื่อพิสูจน์และยืนยีนบุคคลในการติดต่อราชการ กาขอรับบริการหรือสวัสดิการในด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งใช้ประกอบการทำธุรกิจต่าง ๆ ทำนิติกรรม ฯลฯ เช่น การสมัครงาน การขอเปิดบัญชีเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคาร เป็นต้น
1. สัญชาติไทย
2. มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี
3. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ได้รับการยกเว้น จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้บุคคลที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
ตามกฎกระทรวงกำหนดบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 123 ตอนที่ 23 ก วันที่ 6 มีนาคม 2549) ได้แก่
1. สมเด็จพระบรมราชินี
2. พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
4. ผู้มีกายพิการไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวได้
1. กรณีขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
มีสัญชาติไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ที่แสดงได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
4. กรณีบิดา มารดา เป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา ไปแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
5. การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่อมีอายุมาก หรือมีอายุเกิน 20 ปี หากไม่สามารถแสดงหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 4 ให้นำเจ้าบ้านและพยานบุคคลผู้น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
บุคคลผู้น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
เมื่อบัตรเดิมหมดอายุให้ขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
หมายเหตุ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
3. กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือถูกทำลาย ให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาลหรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณีและขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
4. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุลต้องเปลี่ยนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
5. กรณีเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) เช่น กรณีพระภิกษุ หรือสามเณรให้นำสำเนาทะเบียนบ้านของวัดที่พระ หรือสามเณร มีชื่ออยู่ไปแสดง เป็นต้น
2. หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ
หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
6. กรณีเป็นบุคคลที่พ้นสภาพที่ได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประจำตัวปะชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้น หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาจากการยกเวนไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศแล้วแต่กรณี เป็นต้น
หมายเหตุ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
7. กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร
คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
1. การทำบัตรครั้งแรกและการทำบัตรกรณีบัตรเดิมหมดอายุไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
2. การทำบัตรที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท มีดังนี้
- กรณีบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย
- กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ
- กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
- กรณีเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น
3. การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนา รายการเกี่ยวบัตร ฉบับละ 20 บาท
การยึดบัตรของผู้อื่น แอบอ้างนำบัตรของอื่นไปใช้แสดงว่าเป็นเจ้าของบัตร ไม่พกบัตร ทุจริต ทางการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนมีโทษทางอาญา