ทะะบียนครอบครัว หมายถึง การจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิให้ไม่ว่าจะในฐานะสามี ภรรยา หรือมารดากับบุตร
ได้แก่ ทะเบียนการสมรส ทะเบียนการหย่า ทะเบียนการรับรองบุตร ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม การบันทึกฐานะภริยา และการบันทึกฐานะ
แห่งครอบครัว
คู่สมรสยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต แ่ห่งใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอนั้น
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
1. ชายหญิงมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์
2. ไม่เ็ป็นบุคคลวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
5. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสมรสครั้งแรกสิ้นสุดไปแล้้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- สมรสกับคู่สมรสเดิม
- มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
- ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
หลักฐาน
1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
2. หากผู้ร้องจดทะเบียนสมรสมาก่อน ต้องแสดงหลักฐานการหย่า หรือหลักฐานการตายของคู่สมรสเดิม
3. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล (กรณีศาลสั่งให้จดทะเบียนสรส)
4. หนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากสถานฑูต พร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ (กรณีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว)
5. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมาให้ความยินยอมด้วย
วิธีการจดทะเบียน
1. การจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมของผู้ที่เป็นสามี และถรรยา
2. การจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษาของศาล
ขั้นตอนการจดทะเบียน
1. คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมกัน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
2. กรณีศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้อย่าขาดจากกัน คู่หย่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าเพียงฝ่ายเดียวก็ได้
คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร แห่งใดก็ได้โดยไม่จำเป็นว่าต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือเคยจดทะเบียนสมรสที่เขต อำเภอฯ นั้นหรือไม่
หลักฐาน
1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของคู่หย่า
2. ใบสำคัญการสมรส หรือสำเนาทะเบียนสมรส
3. หนังสือสัญญาหย่า (กรณีจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอม)
4. สำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดและคำรับรองว่าถูกต้อง (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษา)
ขั้นตอนการจดทะเบียน
1. บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
2. เด็กและมารดาเด็กทั้งสองคน ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น
เด็กเป็นผู้ไร้เดียงสาหรือมารดาของเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น บิดาจะต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษา จึงจะจดทะเบียนรับรองบุตรได้
สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียน
บิดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตรสามารถยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร แห่งใดก็
โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอฯ นั้นหรือไม่
หลักฐาน
1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา
2. บัตรประจำตัวประชาชนของบุตร (ถ้ามี)
3. สูติบัตรหรือใบเกิดของบุตร
4. คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (กรณีมารดาเสียชีวิต หรือบุตรเป็นผู้ไร้เดียงสา)
จะขอรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
หลักฐาน
1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
2. หนังสืออนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์)
3. ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
4. ผู้จะขอรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
หลักฐาน
1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
3. คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงยินยอมที่จะเลิกรับบุตรบุญธรรม
4. ความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
5. คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย และได้รับการจดทะเบียนครอบครัวตามกฎหมายต่างประเทศ
หลักฐาน
1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
2. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนครอบครัว เช่น สมรส หย่า รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นที่ผู้ขอมีความประสงค์
จะให้บันทึกซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
หลักฐาน
1. การจดทะเบียนในสำนักทะเบียน จดทะเบียนสมรส หย่า รับรองบุตร รับบุตรบุญธรรม เลิกรับบุตรบุญธรรม และบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ไม่เสียค่าธรรมเนียม
2. การจดทะเบียนนอกสำนักทะเบียน จดทะเบียนสมรส รายละ 200 บาท
3. คัดสำเนาทะเบียนครอบครัว ฉบับละ 10 บาท
หลักเกณฑ์
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
3. ต้องไม่มีเจตนาทุจริต
4. ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอดถอน จะให้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองได้
5. ชื่อรองที่ขอตั้งจะต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น ยกเว้นการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสเป็นชื่อรอง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่ใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่
6. กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองได้
สถานที่ยื่นคำร้อง
ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
แห่งที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. สูติบัตรหรือใบเกิดของบุตร กรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อเป็นผู้เยาว์ มารดาทำการแทนผู้เยาว์ หากบิดาทำการแทนต้องใช้ทะเบียนสมรสด้วย
หลักฐาน
1. ชื่อสกุลที่ตั้งต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินีหรือราชทินนาม
2. ต้องเป็นคำที่ไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพพารี หรือของผู้สืบสันดาน
3. ต้องเป็นคำที่ไม่ซ้ำกับสกุลพระราชทาน หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้าชื่อสกุล
7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระนามาภิไธย มาใช้เป็นนามสกุล
8. ห้ามเพิ่มเครื่องหมายนามสกุล เว้นแต่เป็นราชตระกูล
9. คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
10. กรณีการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายที่ใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
11. กรณีการสมรสสิ้นสุดลงด้วยด้วยความตาย ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นต่อไป
สถานที่ยื่นคำร้อง
ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
แห่งที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างด้าว)การขอร่วมใช้ชื่อสกุล
ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล จะขออนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนเองก็ได้ขั้นตอนและหลักฐานที่จะต้องนำไปแสดง
ขั้นตอนที่ 1 เจ้าของชื่อสกุลต้องยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐาน ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช2)
ขั้นตอนที่ 2 ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลต้องยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐาน ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
อัตราค่าธรรมเนียมทะเบียนทะเบียนชื่อบุคคล
1. เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง ฉบับละ 50 บาท
2. ตั้งชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล เปลี่ยนชื่อสกุลตามบิดาหรือมารดา ฉบับละ 100 บาท
3. เปลี่ยนชื่อสกุลครั้งแรกเนื่องจากสมรส-สิ้นสุดการสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม เปลี่ยนครั้งต่อ ๆ ไป ฉบับละ 50 บาท
4. การออกใบแทนหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ฉบับละ 25 บาท
5. คัดสำเนาทะเบียนชื่อบุคคล ฉบับละ 10 บาท