กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์
Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphiman-Awatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่แทนกรุงธนบุรี โดยทรงยกเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และ พ.ศ. ๒๕๔๕ กรุงเทพฯ ได้มีการฉลองสมโภช ครบรอบ ๒๐๐ และ ๒๒๐ ปี ตามลำดับ
กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย
เมื่อเทศบาลนครกรุงเทพมหานครรวมกับเทศบาลนครธนบุรี จัดเป็นรูปเทศบาลนครหลวงขึ้น ทางเทศบาลนครหลวงได้จัดตั้งคณะกรรมการให้พิจารณาเครื่องหมายของเทศบาลนครหลวง คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นว่าความหมายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นั้นเป็นความหมายถึงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสมยิ่ง สำหรับภาพเครื่องหมายถ้าจะขออนุญาตจำลองจากภาพฝีพระหัตถ์ของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ดูภาพประกอบ)ซึ่งได้ทรงทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวาระดิถี 60 พรรษาของพระองค์ อันเป็นภาพช้างเอราวัณทรงเครื่องด้านหน้า (ภาษาช่างเขียนไทย เรียก หน้าอัด) ซึ่งเป็นภาพซึ่งเขียนได้ยากและกอปรด้วยศิลปกรรมยอดเยี่ยมก็จะเหมาะสมยิ่งขึ้น ท่านทายาทได้ทรงอนุมัติให้จำลองภาพไปเป็นเครื่องหมาย เพื่อให้สมเกียรติกับความหมายที่พระองค์ท่านได้ประทานไว้แต่ก่อน เครื่องหมายของเทศบาลนครหลวงจึงมีภาพจำลองจากภาพของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นภาพลายเส้น จึงได้ใส่ลายก้อนเมฆให้เห็นชัดว่าอยู่บนสวรรค์ เพราะภาพเดิมเป็นภาพสีฟ้าจาง ๆ ซึ่งลายเส้นทำได้ยาก และได้ใช้คำเทศบาลนครหลวงกำกับไว้ และมีเส้นรัศมีห่างรอบ ๆ ทั้งซ้ายและขวาของภาพพระอินทร์ เมื่อคณะปฏิวัติได้ออกประกาศฉบับที่ 335 ให้เทศบาลนครหลวงจัดรูปการปกครองเป็นกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการออกแบบเครื่องหมายว่า จะขอใช้เครื่องหมายเดิมที่ออกให้แก่เทศบาลนครหลวง แต่ขอเปลี่ยนตัวอักษรว่ากรุงเทพมหานคร ทางประธานกรรมการพิจารณาเครื่องหมายไม่ขัดข้อง กรุงเทพมหานครจึงได้ใช้ภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆแบบด้านตรง จำลองจากภาพฝีพระหัตถ์นี้เป็นเครื่องหมายตั้งแต่นั้นมา (ดูภาพประกอบ)
สัญลักษณ์พระอินทร์
ตราพระอินทร์ทรงช้าง เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร อาจเป็นเพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองเทวดาของพระอินทร์ดังปรากฎตามชื่อเมืองซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานว่า *กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 4 ทรงแก้สร้อยชื่อเมืองเป็น *กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ก็คือ โกสิ สนธิกับ อินทร์ ซึ่งหมายถึง พระอินทร์เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร อาจเป็นเพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองเทวดาของพระอินทร์ดังปรากฎตามชื่อเมืองซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานว่า *กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 4 ทรงแก้สร้อยชื่อเมืองเป็น*กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ก็คือ โกสิ สนธิกับ อินทร์ ซึ่งหมายถึง พระอินทร์
สาเหตุที่ยกกรุงเทพฯ เป็นเมืองพระอินทร์ สันนิษฐานว่า เพราะคำว่า *รัตนโกสินทร์ คือแก้วของพระอินทร์ อันได้แก่พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งมีสีเขียวเหมือนสีกายของพระอินทร์ เมืองของพระแก้วมรกตจึงเป็นเมืองของพระอินทร์
รูปพระอินทร์ ที่เป็นตรากรุงเทพมหานครนั้น ถือวชิราวุธหรืออาวุธที่เป็นสายฟ้า เป็นอาวุธประจำพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระอินทร์มีหน้าที่ขับไล่ประหารอสูร หรือฤาษีที่ทำความมืดมัวแก่โลก กล่าวคือ เมื่อฤาษีบำเพ็ญตบะจนโลกมืดมัว ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พระอินทร์จะทรงใช้สายฟ้า หรือใช้นางอัปสรไปยั่วยวนทำลายตละฤาษี ฝนก็จะตก ท้องฟ้าแจ่มใส เกิดแสงสว่างและความชุ่มชื้นดังเดิม ดังนั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆ จึงมีความหมายในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชา
ต้นไทรใบแหลม ดูภาพประกอบ
กทม. หมายถึง กรุงเทพมหานคร เป็นคำย่อทีใช้อ้างอิง หรือเรียก ส่วนราชการที่รับผิดชอบในการบริหารพื้นที่กรุงเทพฯ
อำนาจหน้าที่ในการบริหารของกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ มาตรา ๘๙ ได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น ๒๗ เรื่อง และได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น ๔๔ เรื่อง ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
การรวมกิจการของนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็น กรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ มีผลให้การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เป็นลักษณะผสมระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่ให้มีฐานะเป็นจังหวัดในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ กรุงเทพมหานครมีอายุครบรอบการสถาปนา รวม ๓๐ ปี
ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรก ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ เป็นข้าราชการการเมือง แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีนายชำนาญ ยุวบูรณ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนแรก (๑ มกราคม ๒๕๑๖ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๖)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง ได้กำหนดผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการการเมือง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๔ คน โดยให้ทำการเลือกตั้งเป็นคณะ มีสภากรุงเทพมหานครจากการเลือกตั้ง เป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และมีปลัดกรุงเทพมหานครคนหนึ่ง รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานคร (ปลัดกรุงเทพมหานครคนแรก คือ คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันท์)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง และมีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ไม่เกิน ๔ คน มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานคร มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยหรือปฏิบัติราชการแทนก็ได้
กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จำนวนทั้งสิ้น ๕ คน นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลำดับที่ ๖ [เนื่องจาก พลตรี จำลอง ศรีเมือง ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๒ ครั้ง คือในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และ พ.ศ. ๒๕๓๓] โดยเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
ได้มีการแบ่งเขตของกรุงเทพฯ ออกเป็น ๖ ลักษณะ ตามวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติงาน ดังนี้
๑. การแบ่งเขตตามการบริหารงาน คือ
กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตวังทองหลาง กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย ปทุมวัน บางรัก เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตวัฒนา เขตพระโขนง เขตสวนหลวง เขตบางนา และเขตประเวศ กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม และ เขตบางเขน กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย บางกะปิ สะพานสูง เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตลาดกระบัง เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตคลองสามวา กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางกอกใหญ่ เขบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตทุ่งครุ
๒. การแบ่งเขตตามการบริหารงาน ๑๒ กลุ่มเขต คือ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มลุมพินี กลุ่มวิภาวดี กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนบุรี กลุ่มตากสิน กลุ่มพระนครเหนือ กลุ่มบูรพา กลุ่มสุวินทวงศ์ กลุ่มศรีนครินทร์ กลุ่มมหาสวัสดิ์ กลุ่มสนามชัย (รายละเอียด)
๓. การแบ่งเขตตามการบริหารงาน ๖ กลุ่มโซน คือ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มบูรพา กลุ่มศรีนครินทร์ กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนเหนือ กลุ่มกรุงธนใต้
๔. การแบ่งเขตตามที่ตั้งของพื้นที่ ๓ เขต คือ เขตชั้นใน เขตชั้นกลาง เขตชั้นนอก
๕. การแบ่งเขตตามการตั้งถิ่นฐานชุมชน ๕ โซน คือ เขตเมืองชั้นใน (Inner City) เขตชั้นกลางหรือเขตต่อเมือง (Urban Fringe) และเขตชั้นนอกหรือเขตชานเมือง (Suburb)
๖. การแบ่งเขตตามการลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังเมือง) ๑๓ บริเวณ
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครแบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขต 169 แขวง(รายละเอียด)
ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.53 ผู้ที่ต้องการแบบสร้างบ้านฟรี ไปรับได้ที่สำนักการโยธา กทม. สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย กทม. กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต โดย 1,000 คนแรกรับฟรี 1 แบบ ส่วนลำดับถัดไป เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าถ่ายเอกสาร ผู้สนใจดาวน์โหลดชมได้ทางเว็บไซต์ www.bangkok. go.th/yota และ www.bangkok.go.th/housing สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2538-8067, 0-2538-9538.(รายละเอียด)